Whiskas imagery
ค้นหา

ใส่คีย์เวิร์ดที่ต้องการค้นหาด้านล่างเพื่อค้นหาบทความและผลิตภัณฑ์

โรคตาในแมว

ปัญหาดวงตาที่พบบ่อยในแมว

ดวงตาเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ทาสแมวหลายคนตกหลุมรักเจ้าเหมียว ตาใส ๆ ที่จ้องมองมามักจะทำให้เราใจอ่อนอยู่เสมอ ดวงตาของแมวมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตและจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันโรคตาแมวต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ ตาแมวอักเสบ และปัญหาแมวน้ำตาไหลมากผิดปกติ แม้ว่าส่วนใหญ่จะไม่ใช่ปัญหารุนแรงหรืออันตรายถึงชีวิต แต่เมื่อพบความผิดปกติก็ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที

สำหรับทาสแมวที่สงสัยว่าโรคตาแมวที่พบบ่อยมีอะไรอีกบ้าง และจะมีวิธีการดูแลรักษาอย่างไร สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบทความนี้

การติดเชื้อในแมว

  1. โรคตาแดง

    โรคตาแดงเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดและพบได้ในแมวทุกช่วงวัย เกิดขึ้นได้ทั้งจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ส่งผลให้แมวน้ำตาไหล ตาแมวอักเสบบริเวณเยื่อบุตาขาว ขอบตาบวม และอาจมีอาการคัน แม้จะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงใด ๆ มากนัก แต่ก็สร้างความไม่สบายตัวให้เจ้าเหมียวได้ จึงควรรับการรักษาอย่างเหมาะสมโดยสัตวแพทย์

  2. ภาวะกระจกตาอักเสบ

    ชั้นบางใสที่ปกคลุมม่านตาและรูม่านตาของแมวเรียกว่ากระจกตา ถือเป็นส่วนสำคัญในการปกป้องอวัยวะภายในดวงตา แต่ในขณะเดียวกันก็มักจะเกิดการบาดเจ็บได้ง่ายจากอันตรายในสิ่งแวดล้อม ภาวะกระจกตาเสื่อมก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อย โดยจะมีรอยโรคสีขาวและสีเทาปรากฏบนกระจกตา แต่กรณีที่รุนแรงอาจทำให้แมวเจ็บตาและสูญเสียการมองเห็นได้

  3. แมวน้ำตาไหล มีอาการตาแฉะ

    อาการตาแฉะส่งผลให้แมวน้ำตาไหลตลอดเวลา เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ตาแมวอักเสบ ท่อน้ำตาอุดตัน การผลิตน้ำตามากผิดปกติ บาดแผล และอาการระคายเคือง อาการนี้อาจทำให้แมวเจ็บตาและทิ้งคราบน้ำตาที่ฝังแน่นบนใบหน้า แต่สามารถบรรเทาลงได้โดยไม่ต้องรักษาด้วยยา

  4. โรคตาแห้ง หรือ Keratoconjunctivitis Sicca

    เป็นปัญหาที่พบบ่อยและควรได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาการตาแห้งเกิดจากการหลั่งน้ำตาลดลง ส่งผลให้เยื่อเมือกและกระจกตาส่งผลให้เยื่อเมือกและกระจกตา มักจะนำไปสู่อาการเจ็บตา อาการระคายเคือง และแพ้แสง

โรคตาแดงในแมว

โรคตาแดงเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด และเกิดขึ้นได้หลายครั้งในแมวทุกช่วงวัย อาจเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ทำให้ตาแมวอักเสบ อาจมีการติดเชื้อบริเวณเยื่อบุตาขาว ตาดำ และเปลือกตา

สาเหตุของโรคตาแดงในแมว

โรคตาแดงในแมวอาจเกิดได้จากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย เช่น

  1. เชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ Feline herpesvirus - Type 1 (FHV-1)

    ถือเป็นสาเหตุหลักของเยื่อบุตาอักเสบในแมวและเป็นหนึ่งในโรคตาแมวที่พบบ่อยที่สุด อาจส่งผลให้ แมวตาขุ่นหรือต้อกระจกแมวเปลี่ยนสี ตาแดงหรือบวม และมีขี้ตาและสารคัดหลั่งออกจากตา อาการเหล่านี้จะบรรเทาลงภายในเวลาสองสัปดาห์

  2. เชื้อคาลิซิไวรัสในแมว (Calicivirus)

    ไวรัสชนิดนี้เป็นสาเหตุของความผิดปกติในระบบทางเดินหายใจส่วนบน แต่ก็อาจนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับดวงตาได้เช่นกัน โดยทำให้ตาแมวอักเสบ ทั้งบริเวณเยื่อบุตาและเยื่อหุ้ม นอกจากนี้ยังทำให้แมวตาขุ่นหรือต้อกระจกแมวเปลี่ยนสี เกิดบาดแผลที่กระจกตา มีอาการคัดจมูก และจามอีกด้วย

  3. เชื้อคลามัยเดียในแมว (Chlamydia)

    การติดเชื้อและอาการตาแดงอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคลามัยเดียในแมว มันเป็นเชื้อที่มีอยู่ในเซลล์ของร่างกายและติดต่อได้ง่ายในธรรมชาติ การติดเชื้อพบได้ในแมวทุกช่วงวัย แต่ลูกแมวมักจะได้รับผลกระทบมากกว่าแมวโต โดยส่งผลให้แมวตาขุ่น เยื่อตาขาวและกระจกตาอักเสบ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

  4. เชื้อมัยโคพลาสมา (Mycoplasma)

    เป็นแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไปในระบบทางเดินหายใจส่วนบนของแมว อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับตาในแมวได้ โดยเฉพาะในแมวอายุน้อย เช่น เยื่อบุตาอักเสบ

การวินิจฉัยโรคตาแดงในแมว

สัตวแพทย์จะวินิจฉัยโรคตาแดงด้วยการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ เช่น เยื่อบุตาอักเสบ น้ำตาไหลมากผิดปกติ มีสารคัดหลั่งลักษณะขุ่น อาจมีสีเหลืองหรือเขียวไหลออกมาจากตา นอกจากนี้แมวอาจกะพริบตาบ่อย ๆ หรือหลับตานานขึ้น ดวงตาจะไวต่อแสง เกิดอาการแพ้แสงและต้องหรี่ตา ในกรณีที่รุนแรง อาจส่งผลให้เนื้อเยื่อตาบวมจนบดบังดวงตาทั้งหมดหรือบังบางส่วนคล้ายโรคเชอรี่อายแมว

สัตวแพทย์อาจวินิจฉัยโรคโดยทำการทดสอบต่าง ๆ เช่น

  1. การย้อมสีกระจกตาด้วยสารเรืองแสงเพื่อตรวจสอบความเสียหาย
  2. ตรวจสอบการได้ยินและวัดความดันตา
  3. เจาะเลือดเพื่อตรวจสอบว่ามีอาการทางระบบใด ๆ ที่นำไปสู่โรคตาแดงในแมวหรือไม่

การดูแลรักษาโรคตาแดงในแมว

โรคตาแดงไม่เป็นอันตรายและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม กรณีที่เยื่อบุตาอักเสบ แมวอาจรู้สึกไม่สบาย คัน และรำคาญได้ จึงควรดูแลรักษาอย่างเหมาะสมด้วยวิธีการเหล่านี้

  1. การอักเสบที่รุนแรงสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้างและยารักษาการติดเชื้อเพื่อลดการแพร่กระจายของแบคทีเรีย
  2. ยาแก้อักเสบช่วยลดการอักเสบและอาการบวมของชั้นเยื่อบุตาได้
  3. ยาทาเฉพาะที่และยาหยอดตาสำหรับแมวเป็นวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพ ลดการแพร่กระจายของแบคทีเรียและบรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็ว
  4. สัตวแพทย์อาจแนะนำยาทาเฉพาะที่สำหรับรักษาตาแดงเพื่อป้องกันอาการแพ้

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับปัญหาดวงตาที่พบบ่อยในแมว

  1. จะรักษาอาการติดเชื้อที่ตาแมวได้อย่างไร?

    การติดเชื้อที่ตาสามารถรักษาได้ด้วยยาทาเฉพาะที่และยาหยอดตาแมวที่ช่วยลดการแพร่เชื้อของแบคทีเรีย นอกจากนี้สัตวแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้างหรือยาแก้อักเสบในการรักษาเพิ่มเติมด้วย

  2. อาการติดเชื้อแบบใดที่น่ากังวล?

    การติดเชื้อที่ตาของแมวส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาอย่างเร่งด่วน อาการจะบรรเทาลงภายในไม่กี่สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่รุนแรงอาจต้องรักษาด้วยยาอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจเป็นวิธีใกล้เคียงกับเชอรี่อายแมว เช่น การใช้ยาหยอดตาแมวหรือยาป้ายตาลดการอักเสบ

  3. โรคตาแดงในแมวหายได้เองหรือไม่?

    โรคตาแดงในแมวสามารถรักษาได้อย่างง่ายดายด้วยยาปฏิชีวนะ ยาหยอดตา หรือยาทาเฉพาะที่ อย่างไรก็ตาม อาการของโรคตาแดงมักจะบรรเทาลงภายในระยะเวลาอันสั้น แม้ว่าจะไม่ใช้ยาในการรักษาเลยก็ตาม

  4. อาการของโรคตาแดงเกิดขึ้นนานแค่ไหน?

    โรคตาแดงในแมว ไม่ว่าจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส มักจะหายไปเองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ โดยไม่ต้องใช้ยาหรือการรักษาที่ซับซ้อน

Whiskas buy online